Monday, March 30, 2015

①①猫とサラリーマン

อาทิตย์ก่อนเห็นบล็อกของอริสราแปลมังงะ น่าสนใจ ตลกดีชอบ เลยคิดว่าอยากหาไรมาแปลบ้าง ปกติเป็นทาสแมวอยู่แล้ว ก็เลยอยากได้อะไรที่เกี่ยวกับแมวที่ตัวเองชอบเลยลงเอยมาแปลมังงะเรื่องนี้ เป็นมังงะสั้นขำๆเกี่ยวกับซาลารี่มังคนนึงกับแมวซนๆ

มังงะเรื่องนี้วาดโดยคุณniconico0byebyeใครสนใจก็สามารถไปติดตามได้ที่เว็บนี้นะ
เหมาะกับทาสแมวอย่างยิ่งยวด (((o(*゚▽゚*)o)))

ปล.อาจมีบางส่วนแปลแบบดำน้ำ ซับนรกนิดนึงนะ เรามาโฟกัสกับ複合動詞กันเถอะ -*-




複合動詞ในมังงะบทนี้ คือคำว่า見極める(みきわめる)ตรงที่ไฮไลท์สีฟ้าในมังงะ แปลว่า"ตรวจสอบ(ให้แน่ใจว่าไม่ผิด)" เช่น 事件の真相(しんあい)を見極めることが必要だ。การตรวจสอบข้อเท็จจริงของคดีให้แน่ใจเป็นสิ่งสำคัญ



 引っ掛ける(ひっかける)มีความหมายหลายอย่าง ลองมาดูกัน

1.แขวน
เช่นフックにバッグを引っ掛ける。แขวนกระเป๋าไว้ที่ตะขอ

2.เจอสิ่งกีดขวาง อันนี้ความหมายมันดูกว้างอ่ะ แปลเป็นคำภาษาไทยได้หลายแบบ ลองมาดูตัวอย่างกันนะ
เช่นコードに足を引っ掛けて、転んだ。สะดุดสายไฟล้ม
釘に引っ掛けて服を破る。เสื้อผ้าเสียหายเพราะไปเกี่ยวตะปู←ในมังงะ น่าจะใช้ความหมายนี้ คือ"เกี่ยว" "ข่วน"

วันนี้ตอนได้อ่านเรื่องแมวที่ตัวเองชอบ รู้สึกมีความสุขมากกว่าปกติกับการเรียน複合動詞
คิดว่าคำว่า引っ掛けるน่าจะเจอบ่อยในชีวิตประจำวัน ทั้งความหมาย"เเขวน" และ "สะดุด"
ถ้ามีโอกาส เพื่อนๆก็ลองนำไปใช้กันดูนะคะ

①⓪New me

内省การเล่าเรื่อง飛行機

1.Filler
ในการพูดครั้งนี้ ใช้filler4ที่(ขอไม่รวมคำว่าあのうねที่เป็นการเรียกความสนใจจากผู้ฟังนะคะ คำนี้ตั้งใจพูด555) ซึ่งน้อยกว่าการเล่าเรื่อง外国人ในครั้งแรกที่มี6ที่ คราวนี้ใช้fillerดังต่อไปนี้ まあ、うん、そうね、あのうซึ่งมีความหลากหลาย และไม่ใช้なんか

2.การแบ่ง文節
ฉันแบ่ง文節หลายที่เพื่อให้ผู้ฟังสามารถあいづちได้ เช่น
- 1分2分だけでだったね
-自分んの目前
-午後5時ぐらいその飛行機のニュースを見たんだ。
-その飛行機はああ日本に着いてない。เป็นต้น

3.ใช้てしまうในที่ควรใช้
-私は乗らないで、飛行機が私の目の前で飛んちゃった。เพื่อแสดงความเสียดายว่าไม่ทันได้ขึ้นเครื่องบิน เครื่องก็ออกไป"เสียแล้ว"
-飛行機が壊れて、もうみんな死んだ。(みんあ死んだ)死んでしまったとい。เพื่อแสดงความเศร้าว่าทุกคนเสียชีวิตลงแล้ว 

4.メタ言語
ไม่แน่ใจว่าตนเองได้ใช้ไปหรือเปล่า คือประโยคนี้その飛行機はああ日本に着いてない。พูดเกริ่นขึ้นมาก่อนเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟัง ให้ผู้ฟังรู้สึกสงสัย ตกใจ อยากรู้ว่าทำไมเครื่องบินถึงไม่ไปถึงญี่ปุ่น ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะดีกว่าการเฉลยตรงๆเลยว่าเครื่องบินตก 

สรุปโดยรวมแล้ว ฉันคิดว่าฉันน่าจะเล่าเรื่องได้ดีกว่าก่อนเรียนstorytelling ถ้าไม่นับเรื่องคลังคำศัพท์น้อย ก็คิดว่าทั้งในเรื่องfillerที่ใช้น้อยลง และมีความหลากหลายมากขึ้น สามารถแบ่ง文節เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ฟังあいづちได้ ใช้てしまうได้ถูกที่ และมีการพูดเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกสงสัยสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่ก็รู้สึกว่าอยากพูดメタ言語ให้ดีกว่านี้ ยังไม่พอ อยากเล่าเรื่องให้สนุกกว่านี้ 

Sunday, March 29, 2015

⑨カレーし

วันนี้นึกครึ้มอะไรก็ไม่รู้ ไปซื้อก้อนแกงกะหรี่มาทำ ออกมาเป็นแกงกะหรี่หน้าตาบ้านๆแบบที่เห็นข้างล่าง เสร็จแล้วก็พลันเหลือบไปเห็น複合動詞ที่วิธีทำ แต่ว่ามีแค่ตัวเดียวเอง คือคำว่า出来上がるที่แปลทำเสร็จ รู้สึกว่ามีน้อยจัง เลยเกิดอยากรู้ว่ามีคำ複合動詞ไหนบ้างที่สามารถเอามาเขียนวิธีทำแกงกะหรี่นี้ได้ ลองไปหาคำศัพท์มา แล้วนำคำศัพท์ที่รวบรวมมาลองเขียนวิธีทำเอง  ปล.ไม่มีภาพระหว่างทำนะ มันขลุกขลักมาก 5555





・ส่วนผสม
เนื้อสัตว์ 320g
หัวหอมขนาดกลาง 2หัวครึ่ง
แครอทหัวเล็ก 1หัวครึ่ง
มันฝรั่งลูกกลาง 1ลูกครึ่ง
น้ำมัน 2ช้อนโต๊ะ
น้ำ 900ml(4ถ้วยครึ่ง)
ก้อนแกงกะหรี่ทั้งกล่อง

・材料
1.肉 320g
2.玉ねぎ 中2 1/2個
3.にんじん 小1 1/2本
4.じゃがいも 中1 1/2個
5.サラダ油 大さじ2
6.水 900ml
7.ルウ 1箱

・วิธีทำ
1.ล้างมันฝรั่งและแครอท นำมีดหั่นส่วนหัวและท้ายของหัวหอมออก ปอกเปลือกและนำไปล้าง
2.หั่นมันฝรั่ง แครอท หัวหอมให้ชิ้นพอดี
3.ใส่น้ำมันลงไปในกระทะ ผัดหัวหอม เนื้อ แครอท มันฝรั่ง
4.เติมน้ำลงไป
5.พอเดือด ให้ปิดฝาหม้อ และเคี่ยวประมาณ20นาทีจนกว่าส่วนผสมจะนิ่ม
6.ปิดไฟสักครู่ บิก้อนแกวหรี่ละลายใส่หม้อ แล้วเปิดไปอ่อนอีกครั้ง ต้มประมาณ10นาทีจนกว่าจะข้น เสร็จเรียบร้อย 

・作り方
1.じゃがいも、にんじんを洗う。玉ねぎは、包丁で頭と根の部分を切り落とし、皮をむいて洗う。
2.じゃがいも、にんじん、玉ねぎを切る。
3.鍋にサラダ油を熱し、玉ねぎ、肉、にんじん、じゃがいもをよく炒める。
4.水を加える。
5.沸騰したら、あくを取り、弱火で材料が柔らかくなるまで約20分煮込む。
6.いったん火を止め、ルウを割り入れ、溶かす。再び弱火で約10分煮込む。とろみがついたら、出来上がりです。

เอาล่ะเรามาดูศัพท์กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
・切り落とす(きりおとす) ประกอบด้วยคำว่าตัดกับทิ้ง  ตัดออกนั่นเอง เช่น 木から枯れ枝を切り落とす。ตัดกิ่งไม้ที่ตายออกจากต้นไม้

・煮込む (にこむ) แปลว่า เคี่ยว เช่น 彼はスープを一晩(ひとばん)煮込んだ。เขาเคี่ยวซุปทั้งคืน

・割り入れる(わりいれる) อันนี้ขอโน๊ตไว้ก่อนว่าอาจจะไม่ใช่複合動詞ก็ได้ เพราะหาในพจนานุกรมไหนก็ไม่เจอ หาในninjalหมวด複合動詞ก็ไม่เจอ เลยอาจจะไม่ใช่複合動詞 แต่เอามาโน๊ตไว้ เพราะไปหาดูวิธีทำแกงกะหรี่ เจอคำนี้แทบทุกๆวิธีทำเลย คิดเองเออเองว่า น่าจะแปลว่า"บิ แล้วเอามาใส่" "ทำให้แตก แล้วเอามาใส่" เช่นボウルに卵を割り入れる。ตอกไข่ใส่ชาม นั่นแน่ะ แปลว่าตอกไข่(ใส่ชาม)ได้ด้วย! น่าจะเจอบ่อยในวิธีทำกับข้าวนะคำนี้ หรือประโยคในวิธีทำนี้ก็คือ ルウを割り入れるบิก้อนแกงกะหรี่(ใส่หม้อ)

นี่พูดมายืดยาว ยังไม่ทันได้บอกเลยว่าชื่อหัวข้อ อะไรคือカレーし คือก็มาพล่ามเรื่องของตัวเองทำไมเนี่ย5555 ข้ามไปเถอะนะทุกคน=[]= มันมาจากカレー+彼氏 คือกะจะทำแบ่งแฟนด้วย แล้วพอเตรียมวัตถุดิบ เคี่ยวเสร็จไรเสร็จเป็นชั่วโมง เพิ่งนึกได้ แฟนไม่ชอบกินแกงกะหรี่นี่หว่า..... นิ่งไปสามวิ ตามด้วย ในหัวมีเสียง ผ่างงงงง ถึ่งงงงงงงง แต่ก็เอาวะ ทำมากินเอง อร่อยเอง 555555 *ซับน้ำตา*

คราวนี้ได้ลองฝึกoutputเป็นการเขียนวิธีทำแกงกะหรี่ออกมายาวๆ ปกติไม่มีโอกาสได้พิมพ์อย่างนี้ ก็รู้สึกดีนะ คิดว่าต่อไปน่าจะอ่านฉลากวิธีทำอาหารออกมาขึ้นหน่อยนึงแล้วล่ะ เพื่อนๆคนไหนเวลาซื้อของมาทำกับข้าวเองก็อย่าลืมนึกถึงเอนทรี่นี้นะคะ(((o(*゚▽゚*)o)))

Saturday, March 21, 2015

⑧I see

จากเอนทรี่ที่แล้ว ฉันได้วิเคราะห์อัดเสียงหาจุดบกพร่อง และในวิเคราะห์ว่าควรปรับปรุงจุดไหน
ในครั้งที่สองที่ฉันเล่าเรื่อง ฉันมีจุดที่มีพัฒนาการขึ้นดังนี้


1.เว้นวรรคประโยคเป็น文節มากขึ้น ไม่พูดติดกันยาวๆ และมีねเพื่อเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้あいづちมีส่วนร่วมกลับมา 

2.มีการเรียงลำดับเรื่องราวมากขึ้น คือบอกสภาพของผู้ชายที่นั่งอยู่เฉยๆก่อนว่าทำอะไรอยู่ที่ไหน แล้วค่อยบอกสถานการณ์ว่าเจออะไร

3.ใช้表現ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เช่น目を合わせる เปลี่ยนเป็น 目線が合ってしまった

4.มีการสันนิษฐานและตีความจากมุมมองของตนเองเพิ่มมากขึ้นว่า ผู้ชายที่นั่งอยู่อาจจะไม่เก่งอังกฤษ หรือเป็นคนขี้อาย ก็เลยทำแบบนั้น แต่กลับกลายเป็นว่าถูกชาวต่างชาติและคนที่อ่านหนังสือพิมพ์อยู่โกรธ เป็นส่วนที่สรุปในคอนสุดท้าย

5.มีการใช้v.てくる v.ていくเพื่อแสดงทิศทางการเคลื่อนที่แบบคนญี่ปุ่น

6.มีการใช้v.てしまうเพื่อแสดงอารมณ์ให้เรื่องสนุกสนานมากขึ้น

7.เรื่องfiller พบว่าฉันใช้น้อยมาก มีเพียง2ครั้ง คือคำว่าあのうกับあのうね ซึ่งฉันตั้งใจพูดเพราะเป็นการเกริ่นเรียกผู้ฟังก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่fillerในครั้งแรก พบว่าครั้งแรกมีfillerถึง6แห่ง 

สรุปแล้วเรื่องที่เห็นพัฒนาการมากที่สุดในครั้งนี้คือเรื่องfiller และยังเป็นเรื่องที่ฉันอยากปรับปรุงมากที่สุด รู้สึกดีที่ได้ทำแบบฝึกหัดชิ้นนี้ 

⑦By myself

ในคาบเรียนapp jp lingอาจารย์ให้ลองเล่นเรื่องจากการ์ตูนและอัดเสียงไว้ เป็นงานที่สนุกสนาน แต่พอมาเปิดฟังที่บ้าน พบว่าโอวว นี่ฉันพูดอะไรไปเนี่ย น่ากลัวมาก จุดผิดเต็มเลย แถมเอ่ออ่าเยอะอีก5555 บางคำรู้แต่ไม่ได้พูดไปหรือพูดผิด รู้สึกเจ็บใจ(; ̄ェ ̄)

วันนี้เลยมาสรุปจุดที่พูดผิดไป

1. จัดการเรื่องราวในหัวไม่ค่อยได้ เลยทำให้เล่าเรื่องไม่ค่อยเป็นลำดับ
2. "ถือหนังสือพิมพ์ไว้ในมือ" ใช้คำว่า手で持つไป จริงๆต้องเป็นคำว่า新聞を手に持つ
3. "สบตา" ใช้คำว่า目を合わせるไป จริงๆต้องเป็นคำว่า目線が合う
4.มีfillerเยอะมาก มีถึง6แห่งในการเล่าเรื่องครั้งเดียว ทั้งあのう、ええと、ああ、
4."ซ่อนตัวเองในหนังสือพิมพ์" อันนี้ผิดสองที่ในประโยคเดียวเลย
คือพูดไปว่า新聞の裏隠す จริงๆต้องเป็น新聞の後に隠れる เพราะว่า隠すเป็น他動詞หมายถึงเอา(อะไร)ไปซ่อน ส่วน隠れるเป็น自動詞คือ(ใคร)ซ่อน